วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

แว่น AR




ฝันของนักวิทยาศาสตร์ในภาพยนตร์ไซ-ไฟกำลังเป็นจริง เมื่อบริษัทเทคโนโลยีนาม Meta ลงมือพัฒนาแว่นเทคโนโลยีเสมือนจริงหรือ Augmented Reality ที่ผสานความสามารถด้านภาพ 3 มิติเข้ากับเทคโนโลยีตรวจจับความเคลื่อนไหว จนทำให้เกิดเป็นแว่นตาที่ผู้สวมใส่จะสามารถเลือกเมนูหรือวัตถุเสมือนที่เห็นได้ด้วยการวาดมือบนอากาศหรือการออกท่าทางที่ต่างกันไป

        ในเว็บไซต์ของบริษัท Meta ระบุว่าแว่น AR นี้เกิดขึ้นบนความร่วมมือกับเอปสัน (Epson) เพื่อเปลี่ยนวิถีการตอบโต้ระหว่างนมุษย์และคอมพิวเตอร์ พร้อมกับย้ำว่านี่คือแว่น AR รุ่นแรกของโลกที่ทำให้ผู้ใช้สามารถยื่นมือออกท่าทางเพื่อควบคุมวัตถุ 3 มิติเสมือนได้โดยตรง

        แว่น AR นี้จะทำให้ผู้สวมสามารถเล่นเกม 3 มิติได้อย่างสนุกสนานมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกและมองเห็นภาพเสมือนได้เต็มตาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งผู้ใช้ยังสามารถมองเห็นภาพสิ่งของรอบตัวได้ปกติเพราะการใช้เทคโนโลยีมองทะลุหรือ see-through wearable technology ของเอปสัน

        รายงานระบุว่า Meta เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย Meron Gribetz เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยรวมทีมนักศึกษาและบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจำนวน 15 คนซึ่งมีความหวังว่าแว่น AR นี้จะสามารถใช้งานจริงและแพร่หลายในอนาคต จุดนี้ Gribetz วิเคราะห์ว่าไม่เพียงสวมใส่ได้และมองเห็นภาพเต็ม 2 ตา แต่คอมพิวเตอร์ในอนาคตยังควรถูกควบคุมได้ด้วย 2 มือและ 2 แขนโดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์ใดๆ

        Meta ยังมีที่ปรึกษาคนเก่งอย่างศาสตราจารย์ Steven Feiner ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AR ที่คนในวงการรู้จักกันดี ผู้สนใจสามารถคลิกชมความสามารถของแว่น AR นี้ได้จากวิดีโอด้านล่าง ซึ่งต้องการสะท้อนว่าแว่น AR นี้สามารถตอบโต้กับทั้งอุปกรณ์วิดีโอเกม โทรทัศน์ไฮเทค และคอมพิวเตอร์

 


วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

ข้อมูลและสารสนเทศ
1.ข้อมูล ( data ) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายๆอย่างมาผสมเข้าด้วยกัน

2.สารสนเทศ ( information ) หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้อง แม่นยำ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้

3.ลักษณะของข้อมูลที่ดี
      ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
  • มีความถูกต้องและแม่นยำ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
  • มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ กระชับและชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพ เกิดความน่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก
  • ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
4.ชนิดและลักษณะของข้อมูล
      ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
  • ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ( numeric data ) คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปแบบ คือ
- เลขจำนวนเต็ม คือ ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 0, 1, 3, 9, 16, 137, 8319, -46, -22111 เป็นต้น
- เลขทศนิยม คือ ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอ่านมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 17.0 หรือ จำนวนที่มีเศษเป็นทศนิยมก็ได้ เช่น 5.788, 38.14348, 1010.22, 52355.1234, -345.789 เป็นต้น

  • ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ( character data ) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้ เช่น ICT, COMPUTER, Network, internet เป็นต้น
5.ประเภทของข้อมูล
      เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
  • ข้อมูลปฐมภูมิ ( primary data ) คือ ข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าของทุติยภูมิ
  • ข้อมูลทุติยภูมิ ( secondary data ) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้
กระบวนการจัดการสารสนเทศ
  1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
  • การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโฯโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูบ
  • การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ซึ่งหากพบความผิดพลาดก็จะต้องแก้ไขโดยอาจใช้สายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
    2.   การประมวลผลข้อมูล
      ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
  • การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานต่อไป
  • การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรืออักขระเพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
  • การสรุปผลข้อมูล หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลต่าง ๆ แล้ว ก็ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับ และได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
    3.   การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล
      ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
  • การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
  • การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่ทำสำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที
   4.    การแสดงผลข้อมูล
  • การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก
  • การปรับปรุงข้อมูล หลังจากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรมีการติดตามผลตอบกลับ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
  1. ระบบเลขฐานสอง การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือการสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไปฟ้าโดยแทนตัวเลขศูนย์ (0) และ หนึ่ง (1)
 
    2.  รหัสแทนข้อมูล เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้น โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
  • รหัสแอสกี ( American Standard Code Information Interchange : ASCII ) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์ แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว
  • รหัสยูนิโค้ด ( Unicode ) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางประเภทเป็นตัวอักษรแบบรูปภาพ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างรหัสใหม่ขึ้นมาแทน โดยแทนตัวอักขระได้ 65,536 ตัว และยังใช้แทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย


     3.   การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในสื่อบันทึกต่าง ๆ จะต้องกำหนดรูปแบบหรือโครงสร้างของข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
  • บิต ( bit ) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
  • ตัวอักขระ ( character ) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใด ๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล
  • เขตข้อมูล ( field ) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
  • ระเบียนข้อมูล ( record ) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
  • แฟ้มข้อมูล ( file )  คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หนึ่งระเบียน
  • ฐานข้อมูล ( database ) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มเข้าด้วยกัน
จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
     ประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ข้อมูล มีดังนี้
  1. ความเป็นส่วนตัว ( privacy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้ถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้าความเดือดร้อนแก่เจ้าของข้อมูลได้
  2. ความถูกต้อง ( accuracy ) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย
  3. ความเป็นเจ้าของ ( property ) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย
  4. การเข้าถึงข้อมูล ( accessibility )การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล

    คำถาม

ประเภทของข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

       เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 คำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ" และ "การสื่อสาร" เมื่อนำคำมาเชื่อมต่อกัน จะมีความหมายคือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เสียง เป็นต้น



ระบบสารสนเทศ ( information system ) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ

 1. ฮาร์ดแวร์ ( hardware ) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ
 

2. ซอฟต์แวร์ ( software ) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  ซอฟต์แวร์ระบบ  (system software ) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( application system ) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

3. ข้อมูล ( data ) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ

4. บุคลากร ( people ) จะต้องมีความรู้ และ ความเข้าใจในการใช้แทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( procedure ) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. ด้านการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ระบบการลงทะเบียนและระบบการจัดตารางการเรียนการสอน

2. ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ

3. ด้านการสื่อสารและการโทรคมนาคม การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว

4. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น

5. ด้านความบันเทิง รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆ


แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดเเละราคาถูก เเต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเเละมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • การวางเเผน การคิดวิเคราะห์ เเละการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกเเทนที่โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
  • ด้วยการเข้ถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจเเละกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
  • หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง เเต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น


ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • พฤติกรรมเลียนเเบบจากเกมที่ใช้ความรุนเเรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
  • การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพทางสังคมลดน้อยลงตามไปด้วย
  • การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
  • ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผดกฎหมายเเละะเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
  • การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย
  • เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีมาตรการการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้


อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • นักเขียนโปรเเกรมหรือโปรเเกรมเมอร์ ( programmer ) ทำหน้าที่เขียนโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ
  • นักวิเคราะห์ระบบ ( system analyst ) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ เเละพัฒนาระบบสารสนเทศ โดย ออกเเบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
  • ผู้ดูเเลเเละบริหารฐานข้อมูล ( database administrator ) ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล ดูเเลความปลอดภัยของข้อมูล ประสานงาน เเละตรวจสอบการใช้งาน
  • ผู้ดูเเลเเละบริหารระบบเครือข่าย ( network administrator ) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย เเละดูเเลความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์กร
  • ผู้พัฒนาเเละบริหารระบบเว็บไซต์ ( webmaster ) ทำหน้าที่ดูเเลเเละคอยควบคุมทิศทางของเว็บไซต์ตั้งเเต่เนื้อหาภายในเว็บไปจนถึงหน้าตาของเว็บเพจให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
  • เจ้าหน้าที่เทคนิค ( technician ) ทำหน้าที่ดูเเลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดเเวร์เเละซอฟต์เเวร์

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

About Me



ชื่อ นางสาว ธชมน  ชมสกุล ศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 เลขที่ 29
ชื่อเล่น : ป่าน
เกิด วันจันทร์ ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2541
หมู่เลือด B
ที่อยู่ บ้านเลขที่ XX หมู่ X ตำบล XXX อำเภอ XXX จังหวัด พระนครศรีอยุธยา XXXXX
E-mail : parn1331@hotmail.com
สีที่ชอบ : สีเขียว
อาหารที่ชอบ : ข้าวผัด
กีฬาที่ชอบ : เทเบิลเทนนิส
สัตว์ที่ชอบ : กระรอก
วิชาที่ชอบ : คณิตศาสตร์
วิชาที่ไม่ชอบ : สังคมศึกษา
ของสะสม : หนังสือการ์ตูน,หนังสือนิยาย
นักร้องที่ชอบ : Taylor Swift
งานอดิเรก : เล่นคอมพิวเตอร์,อ่านการ์ตูน,เล่นเกม,ฟังเพลง
คติประจำใจ : ชีวิต...คนเรามีอะไรต้องให้ทำอีกเยอะ เรื่องบางเรื่อง...ปล่อยมันผ่านไปบ้างก็ได้