วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

       เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 คำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ" และ "การสื่อสาร" เมื่อนำคำมาเชื่อมต่อกัน จะมีความหมายคือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เสียง เป็นต้น



ระบบสารสนเทศ ( information system ) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ

 1. ฮาร์ดแวร์ ( hardware ) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ
 

2. ซอฟต์แวร์ ( software ) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  ซอฟต์แวร์ระบบ  (system software ) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( application system ) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

3. ข้อมูล ( data ) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ

4. บุคลากร ( people ) จะต้องมีความรู้ และ ความเข้าใจในการใช้แทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( procedure ) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. ด้านการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ระบบการลงทะเบียนและระบบการจัดตารางการเรียนการสอน

2. ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ

3. ด้านการสื่อสารและการโทรคมนาคม การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว

4. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น

5. ด้านความบันเทิง รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆ


แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดเเละราคาถูก เเต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเเละมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • การวางเเผน การคิดวิเคราะห์ เเละการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกเเทนที่โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
  • ด้วยการเข้ถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจเเละกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
  • หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง เเต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น


ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • พฤติกรรมเลียนเเบบจากเกมที่ใช้ความรุนเเรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
  • การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพทางสังคมลดน้อยลงตามไปด้วย
  • การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
  • ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผดกฎหมายเเละะเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
  • การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย
  • เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีมาตรการการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้


อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • นักเขียนโปรเเกรมหรือโปรเเกรมเมอร์ ( programmer ) ทำหน้าที่เขียนโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ
  • นักวิเคราะห์ระบบ ( system analyst ) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ เเละพัฒนาระบบสารสนเทศ โดย ออกเเบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
  • ผู้ดูเเลเเละบริหารฐานข้อมูล ( database administrator ) ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล ดูเเลความปลอดภัยของข้อมูล ประสานงาน เเละตรวจสอบการใช้งาน
  • ผู้ดูเเลเเละบริหารระบบเครือข่าย ( network administrator ) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย เเละดูเเลความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์กร
  • ผู้พัฒนาเเละบริหารระบบเว็บไซต์ ( webmaster ) ทำหน้าที่ดูเเลเเละคอยควบคุมทิศทางของเว็บไซต์ตั้งเเต่เนื้อหาภายในเว็บไปจนถึงหน้าตาของเว็บเพจให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
  • เจ้าหน้าที่เทคนิค ( technician ) ทำหน้าที่ดูเเลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดเเวร์เเละซอฟต์เเวร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น